วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มะม่วง



เป็นที่ถกเถียงกันมานานว่าแหล่งกำเนิดมะม่วง (Mangifera indica) ผลไม้ที่เราคุ้นเคยในรสชาติหอมหวาน และมะม่วงป่าอีกหลากหลายชนิด (Mangifera spp.)  อยู่ที่ไหน?
ฟอสซิลใบไม้คล้ายมะม่วง ที่คาดว่าเก่าแก่ที่สุด  มีอายุประมาณ 70-60 ล้านปี (สมัย Paleocene) ได้ถูกค้นพบที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และตั้งชื่อว่า Eomangiferophyllum damalgiriensis
ล่าสุด.....ที่เหมืองถ่านหินในบ้านป่าคา อ.ลี้ จ.ลำพูน ฟอสซิลใบไม้อายุประมาณสมัยโอลิโกซีนตอนปลาย (Upper Oligocene) ถึงสมัยไมโอซีนตอนต้น (Lower Miocene) หรือประมาณ 25 ล้านปี ได้ถูกค้นพบอีก หลังจากการวิเคราะห์ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของใบ (Leaf architectural analysis) ฟอสซิลใบไม้เหล่านี้ได้ถูกจำแนกออกเป็น 3 ชนิด ในสกุลมะม่วง  และได้ให้ชื่อในเบื้องต้นว่า Mangifera paleoindica (เพราะคล้ายกับมะม่วงชนิดที่เราปลูกกันมาก)  M. intermedia (เพราะคล้ายมะม่วง 3 ชนิดในปัจจุบัน)  และ M. buchananioides (เพราะใบคล้ายใบของต้นไม้ชนิดหนึ่งในสกุล Buchanania  ของวงศ์มะม่วง (Anacardiaceae)
เท่าที่มีหลักฐานทางฟอสซิล   เราคาดว่ามะม่วงน่าจะมีจุดกำเนิดบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ต่อภาคเหนือของพม่า  และภาคเหนือของไทย  หลังจากนั้นมีการ แพร่กระจายไปยัง มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปินส์ บอเนียว นิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน และเกาะแคโลไล
สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอาจทำให้การกำเนิดสายพันธุ์ใหม่และการสูญ พันธุ์มีความแตกต่างกันระหว่างแหล่งกำเนิดและที่ที่มันแพร่กระจายไป อย่างไรก็ตามความเข้าใจในประวัติของการกำเนิด  การแพร่กระจาย  การสูญพันธุ์  และการเกิดพันธุ์ใหม่ๆ ต้องการข้อมูลของฟอสซิลที่คลอบคลุมพื้นที่และช่วงเวลา (spatial and temporal scale)  และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม เป็นต้น
สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอาจทำให้การกำเนิดสายพันธุ์ใหม่และการสูญ พันธุ์มีความแตกต่างกันระหว่างแหล่งกำเนิดและที่ที่มันแพร่กระจายไป อย่างไรก็ตามความเข้าใจในประวัติของการกำเนิด  การแพร่กระจาย  การสูญพันธุ์  และการเกิดพันธุ์ใหม่ๆ ต้องการข้อมูลของฟอสซิลที่คลอบคลุมพื้นที่และช่วงเวลา (spatial and temporal scale)  และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม เป็นต้น
มะม่วง ได้เกิดมารอคู่มหัศจรรย์ของมัน ซึ่งก็คือข้าวเหนียว เป็นเวลานานนับ ล้านๆ ปี หลังจากนั้นอีกสิบกว่าล้านปี คู่นี้ก็กลายมาเป็น ข้าวเหนียวมะม่วง ที่คนไทยชื่นชอบ

ภาพที่ 1 Eomangiferophyllum damalgiriensis จากอินเดีย (Mehrotra et al., 1998)
ภาพที่ 2 ฟอสซิลใบมะม่วง (Mangifera paleoindicai)
ภาพที่ 3 ใบมะม่วง (Mangifera indica) ในปัจจุบัน
ภาพที่ 4 ฟอสซิลใบมะม่วงอีกชนิดหนึ่ง (Mangifera intermedia)



แหล่งที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น